ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนปอวิทยา

porwitthaya sChool

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนปอวิทยา


โรงเรียนปอวิทยาได้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตามพระราชบัญญัติการประถมศึกษา เป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของตำบลปอ โรงเรียนปอวิทยาได้รับการพัฒนาและเปลี่ยนสังกัดเรื่อยมาเหมือนกับโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไป คือได้รับโอนจากกองการศึกษาประชาบาล กรมสามัญศึกษา ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ แล้วได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓

ปี พ.ศ. ๒๕๒๕โรงเรียนได้ขยายโรงเรียนโดยการจัดตั้งโรงเรียนสาขาบ้านโล๊ะ ตำบลท่าข้าม อยู่ห่างจากโรงเรียน ระยะทางประมาณ ๑กิโลเมตร

ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นโรงเรียนแห่งแรกใน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

สถานที่ตั้ง

โรงเรียนปอวิทยาตั้งอยู่บ้านปอกลาง เลขที่ ๒๐๐หมู่ที่ ๕ ตำบลปออำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย ๕๗๓๑๐ ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างดอยยาว ดอยผาหม่นและดอยผาตั้ง มีน้ำงาวไหลผ่านโรงเรียนตั้งอยู่ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต๔ ประมาณ ๙๗กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๔๗ กิโลเมตร

ปรัชญา/สุภาษิตคำขวัญ และสีประจำโรงเรียน

ปรัชญา/สุภาษิต

นตฺถิ ปญฺญาสมาอาภา

หมายถึง แสงสว่างอื่นใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี


สีประจำโรงเรียน

สีเขียว

หมายถึง ความสดชื่น เบิกบานร่าเริง

สีขาว

หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความยุติธรรม

สีแดง

หมายถึงความสามัคคีความมีพลังความเข้มแข็ง

คำขวัญ

เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

ภาษา


ส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่นของตนเองในแต่ละเผ่า เช่นภาษาไทยลื้อ ภาษาม้ง ภาษาอิ้วเมี่ยน ภาษาขมุ แต่ในการไปติดต่อกับทางราชการจะพูดภาษาไทยกลาง

วิสัยทัศน์

โรงเรียนปอวิทยามุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะทางวิชาการ เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง


เอกลักษณ์

การประหยัดและมัธยัสถ์


อัตลักษณ์

นักเรียนโรงเรียนปอวิทยามีนิสัยรักการออมมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด


พันธกิจของโรงเรียน

๑. จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้เด็กอายุ ๔-๖ปี ในเขตบริการให้มีความพร้อมก่อนเข้าเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ ๑

๒. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สำหรับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๗ จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ ๑๖ในเขตบริการของโรงเรียนให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน

๓. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

๔. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ

๕. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

๖. พัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

๗. ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้อนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

๘. ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและบุคลากรอันเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในสังคมอย่าง

มีความสุขและดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๙. วัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ